30 พฤษภาคม 2560

[RMMV] สร้างเกมด้วย RPG Maker MV: บทที่ 1 สร้างเกมแรกกันเลยดีกว่า

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

อยากสร้างเกมเองอย่างนั้นหรือ? ที่นี่มีคำตอบ เราจะมาเรียนรู้วิธีสร้างเกมด้วย RPG Maker MV กัน สำหรับผู้อ่านที่ไม่เคยสร้างเกมมาก่อนหรือยังไม่มีพื้นฐานการสร้างเกม ผู้อ่านควรศึกษาทฤษฎีการสร้างเกมควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ผู้เขียนแนะนำให้ผู้อ่านศึกษาทฤษฎีการสร้างเกมจากบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ซึ่งเป็นบทความที่ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้ ผู้อ่านสามารถอ่านบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ได้ที่ลิงค์เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 1 ปฐมบท - เกม (Game)


ทำไมต้องใช้ RPG Maker MV?

RPG Maker เป็นโปรแกรมเกมเอนจิน (Game Engine) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักสร้างเกมมือใหม่ เนื่องจากเป็นเกมเอนจินที่สามารถสร้างเกมได้ง่าย ไม่ต้องเขียนสคริปต์หรือเขียนโปรแกรมใด ๆ ก็สามารถสร้างเกมได้แล้ว ในขณะเดียวกันก็รองรับการใส่สคริปต์เพิ่มเติมสำหรับนักสร้างเกมที่ชำนาญแล้ว RPG Maker จึงเป็นเกมเอนจินที่ใช้งานได้ตั้งแต่นักสร้างเกมมือใหม่ไปจนถึงนักสร้างเกมมือเซียนกันเลยทีเดียว

RPG Maker MV เป็นเกมเอนจินเวอร์ชันล่าสุดในตระกูล RPG Maker มีลักษณะเด่นกว่าเวอร์ชันเก่าหลายอย่าง เช่น สามารถสร้างเกมให้เล่นได้บนหลายระบบปฏิบัติการทั้ง Windows, Macintosh, Linux, Android รวมทั้งเล่นผ่านเว็บเบราเซอร์ได้, เปลี่ยนจากการเขียนสคริปต์ด้วยภาษา Ruby เป็นภาษา JavaScript ทำให้ศึกษาวิธีการเขียนสคริปต์ได้ง่ายขึ้น, เปลี่ยนไปใช้ตัวอักษรแบบ Unicode ทำให้รองรับการใช้งานภาษาไทยได้(เกือบจะ)เต็มที่ (อ่านวิธีแก้ปัญหาภาษาไทยบน RPG Maker MV ได้ที่บทความมาแก้ปัญหาภาษาไทยใน RPG Maker MV กันเถอะ (วรรณยุกต์ซ้อน, ปัญหาสระอำ, ญ/ฐ+สระอู))

26 พฤษภาคม 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 8 โครงเรื่อง (Plot)

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้วเราได้เรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นเกมไปแล้ว ต่อจากนี้ไปเรามาเรียนรู้เรื่องการออกแบบเกมกัน การออกแบบเกมมีหลายส่วนที่เราจะต้องออกแบบ เช่น แนวเกม เป้าหมายของผู้เล่น เนื้อเรื่อง เป็นต้น ในการพัฒนาเกมที่มีเนื้อเรื่องนักพัฒนาเกมมือใหม่มักจะให้ความสำคัญไปที่การเขียนเนื้อเรื่องเป็นอันดับแรก สิ่งที่ตามมาหลังจากเขียนเนื้อเรื่องไปได้สักพักคือเนื้อเรื่องตัน เนื้อเรื่องออกนอกที่คิดเอาไว้ หรือเนื้อเรื่องไม่เสมอต้นเสมอปลาย สาเหตุมาจากการเริ่มเขียนเนื้อเรื่องทันทีโดยไม่ได้ออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของเนื้อเรื่องก่อน ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการออกแบบโครงเรื่องซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเนื้อเรื่องกัน


ออกแบบโครงเรื่องได้อย่างไร?

โครงเรื่อง (Plot) คือเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง โครงเรื่องของเรื่องสั้น นิยาย ภาพยนตร์ และเกมทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. ต้นเรื่อง - ผูกปมปัญหา ตอนต้นเรื่องตัวละครเอกมีปัญหาอะไรถึงจะทำสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อมาภายหลัง ปมปัญหาเป็นส่วนที่ทำให้ผู้เล่นติดตามเนื้อเรื่อง ผู้เล่นจะลุ้นว่าสุดท้ายแล้วตัวละครเอกจะสามารถแก้ปมปัญหานั้นได้หรือไม่ ในเกมที่มีเนื้อเรื่องปมปัญหาถือว่าเป็นเป้าหมายหลักของผู้เล่น

12 พฤษภาคม 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 7 เป้าหมายของผู้เล่น

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้ว เราได้เรียนรู้หลักการเขียนปัญญาประดิษฐ์กันไปแล้ว ก่อนหน้านั้นเราก็ได้เน้นหนักไปทางคณิตศาสตร์กันแล้ว ที่ผ่านมามีแต่เรื่องยาก ๆ หนักสมองทั้งนั้นเลย มาบทนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องเบาสมองกันบ้างดีกว่า จะว่าเบาสมองเลยก็ไม่เชิง เพราะก็เป็นเรื่องใหญ่ที่นักพัฒนาเกมต้องคิดและออกแบบให้ได้ นั่นคือ "ทำอย่างไรให้ผู้เล่นชอบเกมของเรา?" คำถามนี้เป็นที่ถูกถามเป็นจำนวนมากในกลุ่มนักพัฒนาเกมมือใหม่ วิธีออกแบบเกมให้ผู้เล่นชื่นชอบนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้หมดภายในบทเดียว ที่ผ่านมาเราเรียนรู้แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดใน "การพัฒนาเกม" (สองเสาหลัก ได้แก่อัลกอริทึมและพื้นฐานการพัฒนาเกม) ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุดใน "การเล่นเกม" กันบ้างดีกว่า


สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นเกมคืออะไร?

ลองคิดดูสิว่า เกมบางเกมใช้เวลาเล่นเป็นวัน ทำไมผู้เล่นถึงได้ติดใจมาเล่นเกมได้นานขนาดนั้น? เกมบางเกมใช้เวลาเล่นไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ทำไมถึงมีหลายคนชื่นชอบ? เกมบางเกมดูไม่มีอะไรแปลกใหม่เลย แต่ทำไมถึงได้มีแฟนคลับกันนักหนา? ผู้อ่านคิดว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นเกมคืออะไร?" การได้เห็นภาพสวย ๆ, การได้ติดตามเนื้อเรื่องดี ๆ หรือการได้สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับเกม ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่ยังไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นเกมคือ "ความพยายามในการบรรลุเป้าหมาย"

7 พฤษภาคม 2560

ข่าวดี! มิกิจะเปิดสอน RPG Maker MV เร็ว ๆ นี้

ข่าวดี! เร็ว ๆ นี้ มิกิจะเพิ่มบทความเดอะซีรี่ย์อีกหนึ่งชุด นั่นคือบทความสอน RPG Maker MV สำหรับมือใหม่

จริง ๆ แล้วมิกิมีความคิดว่าจะสอนใช้งาน RPG Maker มาตั้งนานแล้ว แต่มิกิติดภารกิจเขียนบทความเดอะซีรี่ย์ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" อยู่ จึงไม่ค่อยมีเวลามาเขียนบทความเดอะซีรี่ย์ยาว ๆ ชุดอื่นอีก ในการเขียนบทความเดอะซีรี่ย์ซึ่งเป็นบทความยาวหลายบท มิกิต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงในการเขียนบทความหนึ่งบท เนื่องจากบทความเดอะซีรี่ย์แต่ละชุดเป็นบทความที่ต้องมีความเป็นวิชาการสูง ต้องค้นคว้าและตรวจสอบอย่างละเอียด บทความบางบทมิกิใช้เวลาเขียนเป็น 10 ชั่วโมงกว่าเลยก็มี ทำให้มิกิไม่ค่อยมีเวลาไปเขียนบทความตอนยาวอื่นมากนัก ในช่วงนี้บทความเดอะซีรี่ย์ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ก็เริ่มถึงจุดอิ่มตัวแล้ว มิกิจึงจะหันมาเขียนบทความเดอะซีรี่ย์ชุดอื่นเพิ่มเติมบ้าง

5 พฤษภาคม 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 6 ปัญญาประดิษฐ์

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้ว เราได้เรียนรู้ขั้นตอนการพัฒนาเกม และได้ลองพัฒนาเกม TicTacToe แบบเล่นสองคนกันไปแล้ว การพัฒนาเกมแบบให้ผู้เล่นที่เป็นมนุษย์หลายคนมาเล่นกันเองนั้นสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากเราในฐานะนักพัฒนาเกมทำเพียงแค่เขียนกฎกติกา แล้วให้เกมตรวจสอบว่าผู้เล่นได้เล่นตามกฎกติกานั้นหรือไม่เท่านั้น ในปัจจุบันการเล่นเกมด้วยกันหลายคนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังคงมีอีกหลายคนที่ชอบเล่นเกมคนเดียว การพัฒนาเกมของเราให้สามารถเล่นคนเดียวได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ว่าแต่ "เราจะพัฒนาเกมที่ต้องมีผู้เล่นหลายคนให้เล่นคนเดียวได้อย่างไร?" คำตอบคือเราต้องพัฒนาให้เกมเป็นผู้เล่นอีกคนแทนมนุษย์จริง ๆ ซึ่งการที่เกมสามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์นี้เราเรียกว่า "ปัญญาประดิษฐ์"


ปัญญาประดิษฐ์คืออะไร?

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หมายถึงโปรแกรมที่มีความสามารถเหมือนมนุษย์ ทั้งด้านการคิด การวิเคราะห์ และการวางแผน อย่างที่เคยบอกไปในบทแรกว่าอุปกรณ์ทำงานตามคำสั่ง ดังนั้นการที่จะพัฒนาให้โปรแกรมทำงานเหมือนมนุษย์ได้นั้น เราต้องใส่วิธีการคิด การวิเคราะห์ และการวางแผนลงไปในอัลกอริทึมของคำสั่งด้วย ปัญญาประดิษฐ์มักถูกเรียกสั้น ๆ ว่า AI