13 มิถุนายน 2560

ประกาศ! ยุติการเผยแพร่บทความ "สร้างเกมด้วย RPG Maker MV"

ประกาศ! ยุติการเผยแพร่บทความ "สร้างเกมด้วย RPG Maker MV" บทใหม่ เนื่องจากบทความสามารถใส่รายละเอียดและรูปประกอบได้ไม่เพียงพอ ผู้เขียนจะเปลี่ยนจากการเขียนบทความเป็น E-Book เพื่อผู้เขียนจะได้ผลิตผลงานคุณภาพดีให้แก่ผู้อ่านต่อไป

บทความหนึ่งบทความสามารถใส่รูปประกอบได้สูงสุดประมาณ 12 รูป ถ้าใส่รูปมากกว่านี้จะทำให้ผู้อ่านที่อินเทอร์เน็ตช้าใช้เวลาในการโหลดนาน ถ้าใส่รูปน้อยจะทำให้ผู้อ่านมือใหม่บางคนปฏิบัติตามไม่ได้ บทความเดอะซีรี่ย์ "สร้างเกมด้วย RPG Maker MV" เป็นบทความตอนยาว ซึ่งต้องการรูปประกอบจำนวนมาก ทำให้ไม่เหมาะสมที่จะเขียนเป็นบทความ ถ้าตัดเนื้อหาออกเพื่อให้พอดีกับบทความ ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือบทความจะมีคุณภาพต่ำ ดังนั้นมิกิจึงเปลี่ยนจากการเขียนบทความเป็น E-Book เพื่อสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพดีให้แก่ผู้อ่านต่อไป

การยุติการเผยแพร่บทความครั้งนี้ไม่รวมถึงบทความเดอะซีรี่ย์ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ผู้อ่านยังสามารถติดตามบทความเดอะซีรี่ย์ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ได้ตามปกติ

ขอบคุณที่ติดตามผลงานของผู้เขียนมาตลอด ขอบคุณค่ะ

6 มิถุนายน 2560

[RMMV] สร้างเกมด้วย RPG Maker MV: บทที่ 2 การวาดแผนที่ (Map Drawing)

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้วเราได้สร้างเกมแรกกันไปแล้ว เกมแรกของเราเป็นเกมพูดคุยง่าย ๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่ได้วาดแผนที่เพิ่มเติม แผนที่ในเกมเป็นแผนที่โล่งกว้างสีเขียว ไม่มีการตกแต่งอะไร แต่การสร้างเกมจริงเราจำเป็นต้องวาดแผนที่ให้เป็นสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้องนอน บ้าน ป่าไม้ เพื่อใช้เป็นฉากในการดำเนินเรื่องของเกม ดังนั้นในบทนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการวาดแผนที่ในเกมกัน


ขั้นตอนการวาดแผนที่

***คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขนาดใหญ่***

เริ่มต้นด้วยการสร้างโปรเจคใหม่ ในตัวอย่างนี้ตั้งชื่อโปรเจคใหม่ว่า "Map_Drawing" เมื่อสร้างโปรเจคใหม่แล้วโปรเจคใหม่จะมีลักษณะดังรูปที่ 2.1 แถบด้านล่างซ้ายของโปรแกรมคือแถบตั้งค่าแผนที่ ชื่อโปรเจคอยู่ด้านบนสุดในตำแหน่งลูกศรสีน้ำเงิน ขณะนี้โปรเจคมีแผนที่เพียงแผนที่เดียวชื่อว่า "MAP001" ในตำแหน่งลูกศรสีแดง คลิกขวาที่ชื่อแผนที่ "MAP001" แล้วคลิก Edit... เพื่อตั้งค่าแผนที่

30 พฤษภาคม 2560

[RMMV] สร้างเกมด้วย RPG Maker MV: บทที่ 1 สร้างเกมแรกกันเลยดีกว่า

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

อยากสร้างเกมเองอย่างนั้นหรือ? ที่นี่มีคำตอบ เราจะมาเรียนรู้วิธีสร้างเกมด้วย RPG Maker MV กัน สำหรับผู้อ่านที่ไม่เคยสร้างเกมมาก่อนหรือยังไม่มีพื้นฐานการสร้างเกม ผู้อ่านควรศึกษาทฤษฎีการสร้างเกมควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ผู้เขียนแนะนำให้ผู้อ่านศึกษาทฤษฎีการสร้างเกมจากบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ซึ่งเป็นบทความที่ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้ ผู้อ่านสามารถอ่านบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ได้ที่ลิงค์เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 1 ปฐมบท - เกม (Game)


ทำไมต้องใช้ RPG Maker MV?

RPG Maker เป็นโปรแกรมเกมเอนจิน (Game Engine) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักสร้างเกมมือใหม่ เนื่องจากเป็นเกมเอนจินที่สามารถสร้างเกมได้ง่าย ไม่ต้องเขียนสคริปต์หรือเขียนโปรแกรมใด ๆ ก็สามารถสร้างเกมได้แล้ว ในขณะเดียวกันก็รองรับการใส่สคริปต์เพิ่มเติมสำหรับนักสร้างเกมที่ชำนาญแล้ว RPG Maker จึงเป็นเกมเอนจินที่ใช้งานได้ตั้งแต่นักสร้างเกมมือใหม่ไปจนถึงนักสร้างเกมมือเซียนกันเลยทีเดียว

RPG Maker MV เป็นเกมเอนจินเวอร์ชันล่าสุดในตระกูล RPG Maker มีลักษณะเด่นกว่าเวอร์ชันเก่าหลายอย่าง เช่น สามารถสร้างเกมให้เล่นได้บนหลายระบบปฏิบัติการทั้ง Windows, Macintosh, Linux, Android รวมทั้งเล่นผ่านเว็บเบราเซอร์ได้, เปลี่ยนจากการเขียนสคริปต์ด้วยภาษา Ruby เป็นภาษา JavaScript ทำให้ศึกษาวิธีการเขียนสคริปต์ได้ง่ายขึ้น, เปลี่ยนไปใช้ตัวอักษรแบบ Unicode ทำให้รองรับการใช้งานภาษาไทยได้(เกือบจะ)เต็มที่ (อ่านวิธีแก้ปัญหาภาษาไทยบน RPG Maker MV ได้ที่บทความมาแก้ปัญหาภาษาไทยใน RPG Maker MV กันเถอะ (วรรณยุกต์ซ้อน, ปัญหาสระอำ, ญ/ฐ+สระอู))

26 พฤษภาคม 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 8 โครงเรื่อง (Plot)

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้วเราได้เรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นเกมไปแล้ว ต่อจากนี้ไปเรามาเรียนรู้เรื่องการออกแบบเกมกัน การออกแบบเกมมีหลายส่วนที่เราจะต้องออกแบบ เช่น แนวเกม เป้าหมายของผู้เล่น เนื้อเรื่อง เป็นต้น ในการพัฒนาเกมที่มีเนื้อเรื่องนักพัฒนาเกมมือใหม่มักจะให้ความสำคัญไปที่การเขียนเนื้อเรื่องเป็นอันดับแรก สิ่งที่ตามมาหลังจากเขียนเนื้อเรื่องไปได้สักพักคือเนื้อเรื่องตัน เนื้อเรื่องออกนอกที่คิดเอาไว้ หรือเนื้อเรื่องไม่เสมอต้นเสมอปลาย สาเหตุมาจากการเริ่มเขียนเนื้อเรื่องทันทีโดยไม่ได้ออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของเนื้อเรื่องก่อน ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการออกแบบโครงเรื่องซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเนื้อเรื่องกัน


ออกแบบโครงเรื่องได้อย่างไร?

โครงเรื่อง (Plot) คือเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง โครงเรื่องของเรื่องสั้น นิยาย ภาพยนตร์ และเกมทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. ต้นเรื่อง - ผูกปมปัญหา ตอนต้นเรื่องตัวละครเอกมีปัญหาอะไรถึงจะทำสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อมาภายหลัง ปมปัญหาเป็นส่วนที่ทำให้ผู้เล่นติดตามเนื้อเรื่อง ผู้เล่นจะลุ้นว่าสุดท้ายแล้วตัวละครเอกจะสามารถแก้ปมปัญหานั้นได้หรือไม่ ในเกมที่มีเนื้อเรื่องปมปัญหาถือว่าเป็นเป้าหมายหลักของผู้เล่น

12 พฤษภาคม 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 7 เป้าหมายของผู้เล่น

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้ว เราได้เรียนรู้หลักการเขียนปัญญาประดิษฐ์กันไปแล้ว ก่อนหน้านั้นเราก็ได้เน้นหนักไปทางคณิตศาสตร์กันแล้ว ที่ผ่านมามีแต่เรื่องยาก ๆ หนักสมองทั้งนั้นเลย มาบทนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องเบาสมองกันบ้างดีกว่า จะว่าเบาสมองเลยก็ไม่เชิง เพราะก็เป็นเรื่องใหญ่ที่นักพัฒนาเกมต้องคิดและออกแบบให้ได้ นั่นคือ "ทำอย่างไรให้ผู้เล่นชอบเกมของเรา?" คำถามนี้เป็นที่ถูกถามเป็นจำนวนมากในกลุ่มนักพัฒนาเกมมือใหม่ วิธีออกแบบเกมให้ผู้เล่นชื่นชอบนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้หมดภายในบทเดียว ที่ผ่านมาเราเรียนรู้แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดใน "การพัฒนาเกม" (สองเสาหลัก ได้แก่อัลกอริทึมและพื้นฐานการพัฒนาเกม) ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุดใน "การเล่นเกม" กันบ้างดีกว่า


สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นเกมคืออะไร?

ลองคิดดูสิว่า เกมบางเกมใช้เวลาเล่นเป็นวัน ทำไมผู้เล่นถึงได้ติดใจมาเล่นเกมได้นานขนาดนั้น? เกมบางเกมใช้เวลาเล่นไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ทำไมถึงมีหลายคนชื่นชอบ? เกมบางเกมดูไม่มีอะไรแปลกใหม่เลย แต่ทำไมถึงได้มีแฟนคลับกันนักหนา? ผู้อ่านคิดว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นเกมคืออะไร?" การได้เห็นภาพสวย ๆ, การได้ติดตามเนื้อเรื่องดี ๆ หรือการได้สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับเกม ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่ยังไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นเกมคือ "ความพยายามในการบรรลุเป้าหมาย"

7 พฤษภาคม 2560

ข่าวดี! มิกิจะเปิดสอน RPG Maker MV เร็ว ๆ นี้

ข่าวดี! เร็ว ๆ นี้ มิกิจะเพิ่มบทความเดอะซีรี่ย์อีกหนึ่งชุด นั่นคือบทความสอน RPG Maker MV สำหรับมือใหม่

จริง ๆ แล้วมิกิมีความคิดว่าจะสอนใช้งาน RPG Maker มาตั้งนานแล้ว แต่มิกิติดภารกิจเขียนบทความเดอะซีรี่ย์ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" อยู่ จึงไม่ค่อยมีเวลามาเขียนบทความเดอะซีรี่ย์ยาว ๆ ชุดอื่นอีก ในการเขียนบทความเดอะซีรี่ย์ซึ่งเป็นบทความยาวหลายบท มิกิต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงในการเขียนบทความหนึ่งบท เนื่องจากบทความเดอะซีรี่ย์แต่ละชุดเป็นบทความที่ต้องมีความเป็นวิชาการสูง ต้องค้นคว้าและตรวจสอบอย่างละเอียด บทความบางบทมิกิใช้เวลาเขียนเป็น 10 ชั่วโมงกว่าเลยก็มี ทำให้มิกิไม่ค่อยมีเวลาไปเขียนบทความตอนยาวอื่นมากนัก ในช่วงนี้บทความเดอะซีรี่ย์ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ก็เริ่มถึงจุดอิ่มตัวแล้ว มิกิจึงจะหันมาเขียนบทความเดอะซีรี่ย์ชุดอื่นเพิ่มเติมบ้าง

5 พฤษภาคม 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 6 ปัญญาประดิษฐ์

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้ว เราได้เรียนรู้ขั้นตอนการพัฒนาเกม และได้ลองพัฒนาเกม TicTacToe แบบเล่นสองคนกันไปแล้ว การพัฒนาเกมแบบให้ผู้เล่นที่เป็นมนุษย์หลายคนมาเล่นกันเองนั้นสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากเราในฐานะนักพัฒนาเกมทำเพียงแค่เขียนกฎกติกา แล้วให้เกมตรวจสอบว่าผู้เล่นได้เล่นตามกฎกติกานั้นหรือไม่เท่านั้น ในปัจจุบันการเล่นเกมด้วยกันหลายคนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังคงมีอีกหลายคนที่ชอบเล่นเกมคนเดียว การพัฒนาเกมของเราให้สามารถเล่นคนเดียวได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ว่าแต่ "เราจะพัฒนาเกมที่ต้องมีผู้เล่นหลายคนให้เล่นคนเดียวได้อย่างไร?" คำตอบคือเราต้องพัฒนาให้เกมเป็นผู้เล่นอีกคนแทนมนุษย์จริง ๆ ซึ่งการที่เกมสามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์นี้เราเรียกว่า "ปัญญาประดิษฐ์"


ปัญญาประดิษฐ์คืออะไร?

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หมายถึงโปรแกรมที่มีความสามารถเหมือนมนุษย์ ทั้งด้านการคิด การวิเคราะห์ และการวางแผน อย่างที่เคยบอกไปในบทแรกว่าอุปกรณ์ทำงานตามคำสั่ง ดังนั้นการที่จะพัฒนาให้โปรแกรมทำงานเหมือนมนุษย์ได้นั้น เราต้องใส่วิธีการคิด การวิเคราะห์ และการวางแผนลงไปในอัลกอริทึมของคำสั่งด้วย ปัญญาประดิษฐ์มักถูกเรียกสั้น ๆ ว่า AI

28 เมษายน 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 5 มาสร้างเกมแรกกันเถอะ

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

หลังจากที่ได้อ่านเนื้อหาทฤษฎีมา 4 บทแล้ว มาถึงบทนี้ผู้อ่านหลายคนคงอยากลองสร้างเกมจริง ๆ ขึ้นมาบ้างแล้ว ในบทนี้ผู้เขียนเลยจะมาพาผู้อ่านทุกคนมาสร้างเกมแรกกัน ไม่ต้องตกใจไปหรอก บางคนอาจสงสัยว่า "เพิ่งเรียนแค่นิดเดียวจะมีความรู้พอให้สร้างเกมได้หรือ?" คำตอบคือได้แน่นอน การสร้างเกมไม่ต้องใช้ความรู้มากก็ได้ เพียงแค่ทราบพื้นฐานที่จำเป็นก็พอ สิ่งที่สำคัญในการสร้างเกมเลยคือการนำอัลกอริทึมมาประยุกต์ใช้ ในบทนี้เราจะมาสร้างเกม TicTacToe หรือที่เราเรียกภาษาบ้าน ๆ ว่าเกม XO กัน ผู้อ่านก็ลองสร้างเกมนี้ตามไปพร้อม ๆ กันเลย


จะนำตัวอย่างเกมในบทนี้ไปสร้างจริง ๆ ได้อย่างไร?

เนื่องจากบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" เป็นบทความเชิงทฤษฎีที่ไม่เจาะจงอุปกรณ์ ภาษาอุปกรณ์ และเกมเอนจินใด ๆ ดังนั้นตัวอย่างเกมในบทความนี้จะใช้ Pseudo Code ในการอธิบายเป็นหลัก ผู้อ่านจะต้องแปลง Pseudo Code เหล่านี้เป็นภาษาอุปกรณ์หรือคำสั่งในเกมเอนจินที่ผู้อ่านใช้เอาเอง ส่วนวิธีแปลง Pseudo Code เป็นภาษาอุปกรณ์หรือคำสั่งในเกมเอนจิน ผู้อ่านต้องศึกษาคำสั่งต่าง ๆ จากบทความที่สอนภาษาอุปกรณ์หรือเกมเอนจินตัวนั้น แล้วเลือกใช้คำสั่งที่คล้ายหรือใกล้เคียงกับ Pseudo Code มากที่สุด ตัวอย่างเกมในบทนี้จะเลือกใช้คำสั่งที่ง่ายสำหรับมือใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถแปลง Pseudo Code ได้ง่ายที่สุด

23 เมษายน 2560

เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง เดอะซีรี่ย์ ทำไมอัพบทใหม่ช้า?

หลายคนที่เข้ามาอ่านบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ในบล็อกนี้อาจสงสัยว่าทำไมมิกิอัพบทใหม่ช้า ในตอนท้ายของแต่ละบทจะบอกไว้ว่า "อัพบทใหม่ทุกวันศุกร์ แล้วพบกันใหม่บทหน้าในวันศุกร์ ที่...... เดือน......" แต่พออัพบทใหม่จริง ๆ ก็ประมาณวันเสาร์วันอาทิตย์

สาเหตุเป็นเพราะว่าบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" มิกิไม่ได้เผยแพร่แค่ในบล็อกนี้เพียงที่เดียว แต่มิกิยังเผยแพร่ในเว็บอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบทความของมิกิได้ง่ายขึ้น บางเว็บใช้ bbcode เขียน บางเว็บใช้ javascript เขียน พอมาบล็อกนี้ก็ใช้ html เขียน กว่ามิกิจะแปลงจากโค้ดหนึ่งไปเป็นอีกโค้ดหนึ่งก็ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงอยู่ ยิ่งบทความบทไหนมีการใช้ลูกเล่นเยอะ ๆ อย่างตารางหรือ pseudo code ก็ยิ่งใช้เวลานานเข้าไปอีก การที่จะให้มิกิลงบทความบทใหม่ในทุก ๆ เว็บพร้อมกันในวันเดียวมิกิทำไม่ไหวหรอกค่ะ

เนื้อหาของบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" ในแต่ละเว็บเหมือนกันทั้งหมดค่ะ จะมีต่างกันก็แค่รูปแบบการจัดเรียงต่าง ๆ ที่แต่ละเว็บมีไม่เหมือนกัน ดังนั้นที่มิกิบอกว่า "อัพบทใหม่ทุกวันศุกร์" มิกิจะใช้เว็บ irpg เป็นตัวอ้างอิงเวลาค่ะ เนื่องจากมิกิจะอัพบทความบทใหม่ในเว็บ irpg เป็นที่แรก ดังนั้นถ้าผู้อ่านอยากจะอ่านบทความบทใหม่ในวันศุกร์จริง ๆ ผู้อ่านต้องไปอ่านที่เว็บ http://irpg.in.th เอาค่ะ มิกิจะอัพบทความบทใหม่ประมาณช่วงเวลา 18.00 น. ถึง 23.59 น.

ถึงแม้ว่ามิกิจะลงบทความเอาไว้หลายเว็บ แต่บล็อกนี้เป็นบล็อกรวมบทความของมิกิ อาจจะมีบางบทความในบล็อกนี้ที่มิกิไม่ได้เอาไปเผยแพร่ในเว็บอื่นอยู่ค่ะ ดังนั้นถ้าจะติดตามผลงานของมิกิก็แนะนำให้ติดตามทางบล็อกนี้เป็นหลักนะคะ

ขอบคุณที่ติดตามผลงานของผู้เขียนมาตลอด ขอบคุณค่ะ

21 เมษายน 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 4 นิพจน์ (Expression)

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้ว เราได้เรียนรู้วิธีการเขียนอัลกอริทึมแบบต่าง ๆ กันไปแล้ว การเขียนอัลกอริทึมส่วนใหญ่นั้นจะต้องมีการคำนวณเกิดขึ้นด้วย ดังนั้นในบทนี้เราจะมาเรียนวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการเขียนอัลกอริทึมกัน


ตัวแปรคืออะไร?

ตัวแปร (Variable) หมายถึงค่าที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามที่เราต้องการ ตัวแปรสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น นับจำนวนครั้งที่วนลูป, คำนวณเลข, รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด, เก็บคะแนนของผู้เล่น เป็นต้น การที่เราจะใช้ตัวแปรได้นั้นเราจะต้องประกาศตัวแปรก่อน การประกาศตัวแปร (Variable Declaration) เราต้องตั้งชื่อที่จะใช้เรียกและกำหนดประเภทของตัวแปรนั้น กฎการตั้งชื่อตัวแปรมีคร่าว ๆ ดังนี้

14 เมษายน 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 3 อัลกอรึทึม (Algorithm)

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

จากบทที่แล้ว เราได้เรียนรู้ว่า "เกมเอนจินคืออะไร?" และผู้อ่านคงได้เลือกเกมเอนจินที่ตนเองสนใจแล้ว ผู้อ่านทราบแล้วว่าการพัฒนาเกมได้จะต้องป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์ และในการพัฒนาเกมผู้อ่านคงมีความคิดอยู่แล้วว่าอยากจะให้เกมเป็นแบบไหน อยากให้เกมมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า "เราจะเปลี่ยนความคิดเหล่านั้นเป็นคำสั่งในเกมได้อย่างไร?" ในบทนี้เราจะมาเรียนวิธีการเปลี่ยนความคิดต่าง ๆ ให้เป็นอัลกอริทึมกัน


อัลกอริทึมคืออะไร?

อัลกอริทึม (Algorithm) หมายถึงวิธีการแก้ปัญหาแบบเป็นลำดับขั้นตอน โดยลำดับขั้นตอนนั้นจะต้องมีความละเอียด ชัดเจน และสามารถตีความได้อย่างเดียวเท่านั้น ถ้าลองเปิดหนังสือสอนทำอาหาร ส่วนที่เป็นอัลกอรึทึมคือวิธีการทำอาหาร ในการพัฒนาเกมส่วนที่เป็นอัลกอริทึมคือวิธีการทำงานของเกม จากที่ได้เรียนไปในบทที่ 1 ว่า "อุปกรณ์จะทำงานโดยการอ่านคำสั่ง" ดังนั้นอัลกอริทึมของเกมก็คือวิธีการป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์นั่นเอง


ทำไมต้องเขียนอัลกอริทึม?

จากที่ได้กล่าวไปตั้งแต่บทที่ 1 แล้วว่า "อุปกรณ์จะทำงานโดยการอ่านคำสั่งทีละบรรทัด" และอัลกอริทึมคือลำดับขั้นตอนในการดำเนินการที่ต้องเขียนเป็นข้อ ๆ ทีละบรรทัด ดังนั้นการเขียนอัลกอริทึมทำให้เราสามารถป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์ทีละบรรทัดได้อย่างถูกต้อง ถ้าผู้อ่านเขียนอัลกอริทึมไม่ได้ ผู้อ่านก็ป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์ไม่ได้ เมื่อผู้อ่านป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์ไม่ได้ ผู้อ่านก็พัฒนาเกมเป็นของตนเองไม่ได้ ต่อให้ผู้อ่านใช้เกมเอนจินที่ใช้งานง่ายแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าผู้อ่านเขียนอัลกอริทึมไม่ได้ ผู้อ่านก็พัฒนาเกมไม่ได้ ดังนั้นอัลกอริทึมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาเกม

7 เมษายน 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 2 เกมเอนจิน (Game Engine)

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

***จากนี้ไปจะเรียก "การสร้างเกม" ว่า "การพัฒนาเกม (Game Development)"***

จากบทที่แล้ว เราได้เรียนรู้หลักการทำงานของเกม เราได้รู้ว่าอุปกรณ์อ่านคำสั่งทีละบรรทัด และได้รู้ว่าการพัฒนาเกมจะใช้วิธีใส่คำสั่งต่าง ๆ ให้อุปกรณ์อ่านและทำงานตาม การใส่คำสั่งด้วยวิธีตรงคือการเขียนโปรแกรม ซึ่งยังไม่เหมาะสมสำหรับนักพัฒนาเกมมือใหม่ที่ไม่เคยเรียนเขียนโปรแกรมมาก่อน สำหรับนักพัฒนาเกมมือใหม่ผู้เขียนแนะนำให้ใช้เกมเอนจินในการพัฒนาเกม โดยเลือกใช้เกมเอนจินที่ยังไม่ต้องเขียนโปรแกรมอะไรเพิ่มเติมก่อนในช่วงแรก


เกมเอนจินคืออะไร?

เกมเอนจิน (Game Engine) คือโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาเกม โดยเราจะให้คำสั่งง่าย ๆ กับเกมเอนจิน แล้วเกมเอนจินจะนำคำสั่งของเราไปแปลเป็นคำสั่งที่อุปกรณ์เข้าใจได้อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากในการพัฒนาเกม เกมเอนจินทำหน้าที่เปรียบเหมือนล่ามที่คอยแปลจากภาษาคนเป็นภาษาของอุปกรณ์นั้น ๆ ทำให้เราสามารถพัฒนาเกมได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเครื่องของอุปกรณ์นั้นเลย จึงทำให้การพัฒนาเกมเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

31 มีนาคม 2560

[RMMV] มาแก้ปัญหาภาษาไทยใน RPG Maker MV กันเถอะ (วรรณยุกต์ซ้อน, ปัญหาสระอำ, ญ/ฐ+สระอู)

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

(ตามเว็บต่าง ๆ เห็นมีแต่วิธีแก้ปัญหาภาษาไทยใน RPG Maker เวอร์ชันเก่า ๆ ไม่เห็นมีเว็บไหนมีวิธีแก้ปัญหาภาษาไทยใน RMMV เลย (ไม่นับวิธีเปลี่ยนฟอนต์ที่ไม่ค่อยจะได้ผล) มิกิก็เลยนำสคริปต์ที่พัฒนาขึ้นเองมาแจกให้ทุกคนค่ะ)

อย่างที่ทราบกันดีว่าเกมเอนจินอย่าง RPG Maker มีปัญหากับการใช้งานภาษาไทยมาทุกเวอร์ชัน คนที่ใช้ภาษาไทยต้องหาสคริปต์เพิ่มเติมเอง เพื่อที่จะแสดงผลภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เวอร์ชันใหม่อย่าง RMMV (RPG Maker MV) ได้มีการเปลี่ยนระบบเอนจินใหม่หลายส่วน รวมทั้งเปลี่ยนไปใช้ตัวอักษรแบบ Unicode แบบเต็มตัวด้วย เมื่อเปลี่ยนไปใช้ Unicode ก็หมดปัญหาเรื่องภาษา เพราะ Unicode รองรับทุกภาษาในโลกนี้ นั่นเป็นข่าวดีสำหรับคนที่ใช้ภาษาไทยใน RMMV แต่เอ๊ะ! ทั้ง ๆ ที่ RMMV ก็เปลี่ยนไปใช้ Unicode แล้ว แต่ทำไมยังมีปัญหาในการแสดงผลภาษาไทยอยู่อีกล่ะ?

30 มีนาคม 2560

[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 1 ปฐมบท - เกม (Game)

ติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่เพจ https://www.facebook.com/PlanilaGameDeveloper

มีความฝันอยากสร้างเกมเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ......


เกมคืออะไร?

ก่อนจะสร้างคิดจะสร้างเกมสักเกม ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อนว่า "เกมคืออะไร?" เพื่อที่จะได้สร้างเกมได้ตรงตามความหมายและความต้องการของเรา ผู้เขียนเชื่อว่าคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ทุกคนเคยเล่นเกมมาก่อน ว่าแต่เกมคืออะไรกันนะ? ด้านล่างนี้คือตัวอย่างนิยามของคำว่าเกม (Game)

"(N.) An activity that one engages in for amusement or fun." - Oxford Dictionary
"กิจกรรมที่สร้างความบันเทิงหรือความสนุกสนาน"
"(N.) an entertaining activity or sport, especially one played by children, or the equipment needed for such an activity: a board game, indoor/computer games" - Cambridge Dictionary
"กิจกรรมบันเทิงหรือกีฬา, มักถูกเล่นโดยเด็ก, หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม เช่น เกมกระดาน, เกมในร่ม, เกมคอมพิวเตอร์"
"น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วยการแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game)." - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2554
"กิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม" - ผู้เขียน